5 Jul 2012 Thai Rath
Source: http://www.thairath.co.th/content/edu/273671
5 July 2012-Department of Fisheries (DOF) is preparing to improve the standards of tilapia farming to respond to the increasing demand from foreign consumers. The DOF will organize a Fish Eating Festival in 10 provinces as well as gather tilapia farming techniques from 50 persons nationwide.
On 5 July 2012, Ms Tirapat Tongwattanakorn, Director of the Freshwater Fisheries Research and Development Center of the DOF in Pattalung Province, revealed that the area for tilapia farming has expanded. As a result, tilapia has the largest market share for freshwater fish species in the country. The demand from both domestic and international markets is increasing. Therefore, the potential growth for tilapia farming is very positive. Ms. Tirapat is confident that if tilapia farming is supported from the hatchery to the processing stages, the quality and price of tilapia will be better.
For this reason, the DOF has implemented the solid plan to boost tilapia production by setting up the Improving Tilapia Farm standard project for export by gathering the techniques of tilapia farming from 50 persons in 50 Provinces nationwide. The project aims to strengthen tilapia farming practices. DOF officers will also provide information on GAP standards. The Tilapia Eating Festival which will be held in 10 provinces also supports the marketing strategy, as well as the dissemination of tilapia production techniques which comply with GAP standards.
3 July 2012, Manager Online
Kbank suggests Thailand to have an agreement with EU on FTA lest the new GSP would cause losses for Thailand
The Thai Shrimp
Export Association indicated that shrimp exported to EU will be the one item
that has to comply with new tax system after the EU revised the tariffs rate or
GSP. The tax rate for raw shrimp is 12% while the cooked shrimp tax would be 20%
Mr. Somsak
Paneetatyasai, the chairperson of the Thai Shrimp Export Association mentioned
that after this measure officially takes effect on 1 January 2014, the amount
of exported shrimps might be reduced to less than 5% from 20-25%. Therefore,
the assistance from the government is needed so that Thailand will not lose its
place to competitors such as Malaysia. The FTA discussion with EU is essential
which is similar to the suggestion of the Kbank Research Center advising the
government to sign on the FTA with the EU before the new GSP scheme is
officially implemented.
The new EU scheme aims to benefit the less developed
countries so the number of countries with privileges will be reduced from 176 to
75-80 countries. Globally, Thailand is ranked in the upper medium income
country (July 2011 information) so there is a possibility that Thailand will
lose its privileges. Previously, Thailand was ranked 3rd after India
and Bangladesh under the GSP.
The Kbank Research Center estimates that Thai export products to EU will be 2% more expensive compared to the older scheme, and 39% of Thai products to EU will be affected.
Source: http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9550000081291
8 May 2012, Thairath
Price intervention
for 10,000 T of shrimp approved!
The Committee on Farmers’ Assistance and Policy (CFAP) led by Mr. Boonsong
Teriyapirom, Minister of Commerce, has agreed to intervene in the price of white
shrimp based on the measurement from the Department of Fisheries to be
finalized around May 11th.
Mr. Yanyong Puangraj, Deputy Minister, Ministry of Commerce, revealed
that the CFAP decided to intervene in the price of white shrimp to help
farmers. However, they have not finalized the figure yet. As the Secretary of
the Committee, the Department of Fisheries will come up with the proposal,
either buying or pledging 10,000 T of shrimp from farmers during the next
meeting on May 11th, wherein 10% will be added to the buying price.
For example, the price of shrimp at the size of 60 shrimps per kg will be 135
THB instead of the current price of 110 THB. Farmers have to spend 117 THB to
raise 1 kg of shrimp.
Source: http://www.thairath.co.th/content/eco/258899
Source: http://www.thairath.co.th/content/eco/258899
๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔
ประเทศไทย
น้ำท่วม-มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมฟาร์มเลี้ยงกุ้งก้ามกรามอย่างแน่นอน
ที่ผ่านมา ฟาร์มเลี้ยงกุ้งทะเลไม่เกิดผลกระทบจาการน้ำท่วมในภาคกลางของประเทศไทย เนื่องด้วยพื้นที่การเลี้ยงอยู่ในพื้นที่อื่นของประเทศ แต่ว่าในกรณีนี้ใช้ไม่ได้กับฟาร์มกุ้งน้ำจืด ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ภาคกลาง และในพื้นที่ที่มีการท่วมของน้ำอย่างรุนแรง
ศาตราจารย์ไมเคิล นิวส์ ผู้แต่งหนังสือ และที่ปรึกษาเกี่ยวกับฟาร์มกุ้งก้ามกรามมาอย่างยาวนาน ได้รายงานว่า “เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับผลผลิตบางส่วนของผลผลิตรวมของกุ้งก้ามกรามในประเทศไทย ซึ่ง จะมีจำนวน ๓๒,๑๗๕ ตัน และมีมูลค่า ๑๓๑.๔ ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี ๒๕๕๒ (ตามสถิติของเอฟเอโอ) มาจากพื้นที่ภาคกลางของประเทศ ผลกระทบของน้ำท่วมและท่วมอยู่ยาวนานนี้ของปีนี้น่าจะมีผลต่อผลผลิตของกุ้งก้ามกรามอย่างมีนัยสำคัญ”
แหล่งของข้อมูล : อีเมล์จากศาสตรจารย์ไมเคิล นิวส์ (michaelnew4awf@yahoo.co.uk) หัวข้อ กุ้งก้ามกรามในกรณีน้ำท่วมของประเทศไทย วันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔.
ในวันที่ ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๕๔
====================
การประชุมเชิงปฏิบัติการ สถานภาพการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ
โครงการความยั่งยืนของการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำที่มีจรรยาบรรณ (Sustaining Ethical Aquaculture Trade, SEAT) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการภายใต้ชื่อ “สถานภาพการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ” หรือ “State of the System (SOS) workshop” เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ณ ห้องประชุม จุลมณี 3 โรงแรมเค พี แกรนด์ จังหวัดจันทบุรี ทางโครงการฯได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากประชาคมยุโรป ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่างคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยสเตอริงค์ ประเทศอังกฤษ โครงการฯทำการศึกษามูลค่าวงจรการผลิตทั้งหมดของปลานิล ปลาสวาย กุ้งทะเลและกุ้งก้ามกรามที่ผลิตในภาคพื้นเอเชีย เช่น จีน เวียดนาม บังกลาเทศ และไทย โดยจุดประสงค์ของโครงการฯ เพื่อทำความเข้าใจการค้าและการผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำระหว่างผู้ผลิตและผู้บริโภค ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ (Values Chain) ในส่วนของประเทศไทยจะดำเนินการศึกษาในสัตว์น้ำสองชนิดคือกุ้งกับปลานิล ซึ่งผลการของการวิจัยจะสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในกุ้งและปลานิลที่ยั่งยืนในอนาคต
ในครั้งนี้เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อรายงานสถานการณ์ปัจจุบันของโครงการฯ ซึ่งได้มีจัดขึ้นในประเทศบังกลาเทศเมื่อเดือนมีนาคม ประเทศจีนในเดือนเมษายน ประเทศเวียดนามในช่วงกลางเดือนพฤษภาคม และสุดท้ายครั้งนี้ในประเทศไทย ในการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ข้อมูล องค์ความรู้ที่ได้จากการสำรวจในช่วงต้นของโครงการไปยังผู้มีส่วนร่วมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ (Value chain) เพื่อสร้างความเข้าใจและมั่นใจของข้อมูลที่ได้สำรวจ และเพื่อได้แนวความคิดและมุมมองของผู้มีส่วนร่วมเกี่ยวกับโอกาสและความท้าทายในอนาคตของการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ รวมไปถึงข้อเสนอแนะการวัดการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยความยั่งยืนที่จะเกิดขึ้นในการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว ทางโครงการฯ เรียนเชิญผู้เข้าร่วมประชุมจากหลากหลายภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น กลุ่มผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบและอุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิตสัตว์น้ำ กลุ่มผู้ผลิตสัตว์น้ำประเภทกุ้ง กลุ่มธุรกิจหลังการจับ (พ่อค้าคนกลาง/ผู้ซื้อ/ห้องเย็น/ผู้ส่งออก) กลุ่มสถาบัน/องค์กร/เทคโนโลยี กลุ่มผู้ประกอบการฟาร์มเพาะ/ฟาร์มอนุบาล กลุ่มผู้ผลิตสัตว์น้ำประเภทปลานิล และสื่อมวลชน เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 53 คน
การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มี ดร.เกรียงไกร สถาพรวานิชย์ หัวหน้าโครงการ อาจารย์ประจำคณะประมง และดร.กุลภา กุลดิลก อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นวิทยากรในช่วงเช้า และศาสตราจารย์เดวิด ลิตเติ้ล อาจารย์ประจำสถาบันเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มหาวิทยาลัยสเตอริงค์ ประเทศอังกฤษ เป็นวิทยากรบรรยายในช่วงบ่าย ในโอกาสนี้ ดร.กุลภา ได้นำเสนอภาพรวมของระบบการเลี้ยงสัตว์น้ำในประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับปลานิลและกุ้งในช่วงปีที่ผ่านมา โดยได้อธิบายถึงพื้นที่ในการเลี้ยงกุ้ง และการเลี้ยงปลานิลในประเทศไทย ที่ตั้งของโรงงานแปรรูป ห้องเย็น ที่ตั้งของโรงเพาะฟัก และโรงอนุบาลสัตว์น้ำ รวมไปถึงอธิบายห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมกุ้งและปลานิล จากต้นน้ำไปสู่ปลายน้ำ
ดร.เกรียงไกร สถาพรวานิชย์ นำเสนอประเด็นสำคัญจากการสำรวจแบบบูรณาการ โดยได้อธิบายถึงผลบางส่วนที่สำคัญของแบบสอบถาม ในด้าน ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อความยั่งยืนในอีก 1-2 ปี ข้างหน้า ความคิดเห็นของเกษตรกรเกี่ยวกับการสืบทอดกิจการฟาร์ม เนื่องจากเป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ หลังจากวิทยากรบรรยายในช่วงเช้าแล้ว ทางโครงการฯเปิดโอกาสรับฟังความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมประชุม ทั้งการเปิดโอกาสให้ตั้งคำถาม และข้อเสนอแนะ ซึ่งคำถามและข้อเสนอแนะเหล่านี้เป็นประโยชน์แก่โครงการฯเป็นอย่างยิ่ง
ในช่วงบ่ายศาสตราจารย์เดวิด ลิตเติ้ล ได้ให้ข้อเสนอแนะและแนวคิดเพื่อพัฒนาผลผลิตสัตว์น้ำโดยเฉพาะกุ้งและปลานิลเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และความต้องการของลูกค้าโดยเฉพาะผู้บริโภคชาวยุโรป ทั้งนี้ยังนำเสนอมุมมองทัศนคติของลูกค้าชาวยุโรป รวมไปถึงแนวโน้มของตลาดและความต้องการของลูกค้าในยุโรป
หลังจากวิทยากรบรรยายในช่วงบ่ายแล้ว ทางโครงการฯได้มีกิจกรรมของกลุ่มแต่ละกลุ่ม โดยได้เปิดรับความคิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อความยั่งยืนของการผลิตและการค้าผลิตภัณฑ์สัตว์น้ำ และวิธีการตรวจวัดของแต่ละปัจจัย โดยปัจจัยนั้นรวบรวมมาจากผลของแบบสอบถามรายบุคคลในช่วงเช้า และสรุปมาเป็นปัจจัยหลักในแต่ละกลุ่ม กิจกรรมนี้เป็นการทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงและขับเคลื่อนอุตสาหกรรมการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำไทยไปข้างหน้า อาทิ กลุ่มผู้ผลิตสัตว์น้ำประเภทกุ้ง หนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่อความยั่งยืนคือ โรค วิธีการตรวจวัดของผู้ร่วมประชุมมีหลายวิธี เช่น พฤติกรรมการกินอาหารของสัตว์น้ำ อัตราการตาย ภายหลังเมื่อเสร็จสิ้นกิจกรรมของแต่ละกลุ่มในช่วงแรก ทางโครงการฯยังเปิดโอกาสรับความคิดเห็นจากกลุ่มอื่นๆ ในข้อคิดที่ได้ดำเนินการในกลุ่มเพื่อเปิดมุมมองและรับคำเสนอแนะที่แตกต่างจากกลุ่มอื่นๆ
การประชุมครั้งนี้เป็นการนำเสนอผลงานที่ทางโครงการได้ดำเนินการมาตั้งแต่ต้นจนถึงปัจจุบัน เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลที่ได้จากผู้ร่วมประชุม และผู้มีส่วนร่วมกลุ่มอื่นๆ รวมไปถึงเป็นการตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล ซึ่งเรียกว่าการตรวจสอบสามเส้าด้านข้อมูล (Triangulation) ซึ่งจะเน้นการตรวจสอบข้อมูลที่ได้มาจากแหล่งต่างๆ ซึ่งถ้าทุกแหล่งข้อมูลพบว่าได้ข้อค้นพบมาเหมือนกัน แสดงว่าข้อมูลที่ผู้วิจัยได้มามีความถูกต้อง นอกจากนี้การประชุมยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมประชุมที่มาจากคนละภาคส่วนให้ทำความรู้จัก แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีโอกาสรับฟังความคิดเห็นคนอื่น ผลที่ได้รับจากการประชุมนี้เป็นประโยชน์อย่างยิ่งแก่โครงการฯ และสามารถนำเสนอและเผยแพร่สู่สาธารณะและผู้ที่เกี่ยวข้องต่อไป การประชุมครั้งนี้จะประสบความสำเร็จไม่ได้หากไม่ได้รับความร่วมมือที่ดีจากผู้เข้าร่วมประชุมทุกภาคส่วน และเจ้าหน้าที่โครงการฯ รวมไปถึงสื่อมวลชนทุกท่าน ทางโครงการฯขอขอบพระคุณทุกท่านอย่างยิ่งมา ณ โอกาสนี้ด้วย